Friday, June 4, 2010

Recognizing Somdej amulets

Learning how to look at Phra Somdej - การวิจัย พระสมเด็จ
รียนรู้พระเครื่องชุดเบญจภาคี
In this tutorial video its the benjapakee set in question and looks at the composition of this 5 amulet set from 5 different places in Thailand which are the sets which are the most popular with "Nak len Pra Krueang" The Pra Somdej Wat rakang amulet from Luang Por To Promrangsi Wat Rakang is featured in the set. Some of the important recognition points are discussed and explained

บทสวด คาถา ชินบัญชร

บท สวดพระคาถาชินบัญชรพร้อมคำแปล

ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี)และตั้งคำอธิษฐานว่า 
 (ถ้าจะขยายภาพกดเมาส์ปุ่มซ้ายบนภาพครับ)




ปุตฺตกาโม ลเภ ปุตฺตํ ธนกาโม ลเภ ธนํ อตฺถิกาเย กาย ญาย เทวานํ ปิยตํ สุตวา

(ภายหลังได้มีผู้นำบทบูชาท้าวเวสสุวรรณมาต่อเติม ซึ่งแต่เดิมมิได้มีอยู่ในบทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี))

"อิติปิโส ภควา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวณฺโณ มรณํ สุขํ อรหฺ สุคโต นโมพุทฺธาย"
บทสวด คำแปล
๑.ชยาสนาคตา พุทฺธา เชตวามารํสวาหนึ

จตุสจฺจาสภํรสํ เย ปิวึสุ นราสภา
พุทธะทั้งหลาย

ทรงชนะมารพร้อมทั้งเสนา พาหนะ เสด็จสู่พระที่นั้งแห่งชัยชนะแล้ว พระพุทธะใดเล่า ทรงเป็นผู้ประเสริฐแห่งนรชน ทรงดื่มอมตรสแห่งสัจจะทั้งสี่แล้ว
๒.ตณฺหํกราทโยพุทฺธา อฏฺฐวีสติ นายกา

สพฺเพปติฏฺฐิตามยฺหํ มตฺถเก เต มุนิสฺสรา
พระพุทธะทั้งหลาย ๒๘ พระองค์

มีพระตัณหังกรเป็นต้น ทรงเป็นพระนายกผู้นำโลก พระมุเนศวรจอมมุนี ทุกพระองค์นั้น ทรงสถิตประทับบนกระหม่อมแห่งข้าพเจ้า
๓.สีเส ปติฏฺฐิโต มฺยหํ พุทฺโธ ธมฺโม ทวิโลจเน

สงฺโฆ ปติฏฺฐิโตมยฺหํ อุเร สพฺพคุณากโร
พระพุทธะทั้งหลาย

ทรงสถิตประทับบนศีรษะ พระธรรม สถิตประทับที่ดวงตาของข้าพเจ้า พระสงฆ์ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณทั้งปวง สถิตประทับที่อุระของข้าพเจ้า
๔.หทเย เม อนุรุทฺโธ สารีปุตฺโต จ ทกฺขิเณ

โกณฺฑญฺโญ ปิฏฐิภาคสฺมึ โมคฺคลฺลาโน จ วามเก
พระอนุรุทธประทับที่หทัย

พระสารีบุตรประทับที่เบื้องขวา พระโกณฑัญญะประทับที่เบื้องหลัง พระโมคคัลลานะประทับที่เบื้องซ้าย
๕.ทกฺขิเณ สวเน มยฺหํ อาสุ ํ อานนฺทราหุลา

กสฺสโป จ มหานาโม อุภาสุ ํ วามโสตะเก
พระอานนท์และพระราหุล

ประทับที่หูเบื้องขวาของข้าพเจ้า ประกัสสปะและพระมหานามะ ทั้งสองประทับที่หูเบื้องซ้าย
๖.เกสนฺเต ปิฏฺฐิภาคสฺมึ สุริโยว ปภํกโร

นิสินฺโน สิริสมฺปนฺโน โสภิโต มุนิปุ ํคโว
พระโสภิตผูเป็นมุนีที่แกล้วกล้า

ถึงพร้อมด้วยสิริ เหมือนอย่างดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง ประทับที่สุดผมส่วนเบื้องหลัง
๗.กุมารกสฺสโป เถโร มเหสีจิตฺตวาทโก

โส มยฺหํ วทเนนิจฺจํ ปติฏฺฐาสิคุณากโร
พระเถระผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ผู้มีวาทะอันวิจิตร ชื่อกุมารกัสสป ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้น ประทับที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์
๘.ปุณฺโณ องฺคุลิมาโล จ อุปาลี นนฺทสีวลี

เถรา ปญฺจ อิเม ชาตา นลาเฏ ติลกา มม
พระเถระห้าพระองค์เหล่านี้

คือ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ พระสีวลี เกิดเหมือนอย่างดิลก (รอยเจิม) ที่หน้าผากของข้าพเจ้า
๙.เสสาสีติ มหาเถรา วิชิตา ชินสาวกา ๑

เอเตสีติ มหาเถรา ชิตวนฺโต ชิโนรสา ชลนฺตา สีลเตเชน องฺคมํเคสุ สณฺฐิตา
พระมหาเถระทั้งหลาย ๘๐ ที่เหลือจากนี้

ผู้ชนะ ผู้เป็นสาวกของพระสาวกของพระพุทธะผู้ทรงชนะ ๑ รุ่งเรืองอยู่ด้วยเดชแห่งศีล สถิตอยู่ที่องคาพยพทั้งหลาย
๑๐.รตนํ ปุรโต อาสิ ทกฺขิเณ เมตฺตสุตฺตกํ

ธชคฺคํ ปจฺฉโต อาสิ วาเม องฺคุลิมาลกํ
พระรตนสูตรประจุอยู่เบื้องหน้า

พระเมตตสูตรประจุอยู่เบื้องขวา พระธชัคคสูตรประจุอยู่เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลสูตรประจุอยู่เบื้องซ้าย
๑๑.ขนฺธโมรปริตตญฺจ อาฏานาฏิยสุตฺตกํ

อากาเสฉทนํ อาสิ เสสา ปาการสณฺฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตร

และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเหมือนอย่างฟ้าครอบ พระสูตรปริตรทั้งหลายที่เหลือ กำหนดหมายเป็นปราการ
๑๒.ชินานาวรสํยุตฺตา สัตฺต ปาการลํกตา


วาตปิตฺตาทิสญฺชาตา พาหิรชฺฌตฺตุปทฺทวา
เมื่อข้าพเจ้าอาศัยอยู่ด้วยกิจทั้ง ๔ อย่าง

ในบัญชรแห่งพระสัมพุทธะ ประกอบด้วยลานเขต แห่งอาณาอำนาจ แห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ ประดับด้วยปราการคือพระธรรมทุกเมื่อ
๑๓.อเสสา วินยํ ยนฺตุ อนนฺตชินเตชสา

วสโต เม สกิจฺเจน สทา สัมฺพุทฺธปัญฺชเร
ขออุปัทวะ (เครื่องขัดข้อง)

ทั้งภายนอก ทั้งภายใน ทั้งหลาย ที่เกิดจากลมและน้ำดีเป็นต้น จงถึงความสิ้นไป ไม่มีเหลือ ด้วยเดชแห่งพระชินะผู้ไม่มีที่สุด
๑๔.ชินปญฺชรมชฺฌมฺหิ วิหรนฺตํ มหีตเล

สทา ปาเลนฺตุมํสพฺเพ เต มหาปุริสาสภา

อิจฺเจวมนฺโต สุคุตฺโต สุรกฺโข

ชินานุภาเวน ชิตุปทฺทโว

ธมฺมานุภาเวน ชิตาริสํโค

สงฺฆานุภาเวน ชิตนฺตราโย

สทฺธมฺมานุภาวปาลิโต จรามิ ชินปญฺชเรติ
๑๔. ขอพระมหาบุรุษ ผู้เลิศกล้าทั้งหลายทั้งปวงนั้น

โปรดอภิบาลแก่ข้าพเจ้า ผู้สถิตในท่ามกลางแห่งพระชินบัญชร อยู่บนพื้นแผ่นดิน

ข้าพเจ้ามีความรักษาดี โดยทำให้ครบถ้วนทุกทางอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้ ขอจงชนะอุปัทวะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธะผู้ทรงชนะ

ชนะข้าศึกขัดข้อง ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม

ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์

อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมอภิบาล ประพฤติอยู่ในชินบัญชรเทอญ ฯ
๑ ต่อจากนี้ฉบับภาษาไทยบางฉบับ มีอีก ๑ บรรทัดว่า

เอเตสีติ มหาเถรา ชิตวนฺโต ชิโนรสา
๑ ต่อจากนี้ฉบับภาษาไทยบางฉบับ มีอีก ๑ บรรทัด แปลว่า

พระมหาเถระทั้ง๘๐ เหล่านี้ ผู้มีความชนะ เป็นโอรสของพระพุทธชินะ

link;
wikipedia

Immeasurable Beauty of Somdej Wat Rakang Amulets

The most beautiful amulets are Somdej To Wat Rakang amulets. Themost desired amulet in Thai amulet history is Internationally sought for its great beauty which increases with age. Amulets from editions made by the hand of Somdej Praputtajarn To Promrangsi are probably the most expensive amulets in the world. Whatever the price, their beauty is immeasurable.


When examined under the magnifying eye glass, the mixture of the clay shows amazingly beautiful textures which is part of the charm and attraction of the wonderful Pra Somdej To Wat Rakang amulets

ตำนานคาถาชินบัญชร

ตำนานประวัติ ความเป็นมา ของ คาถา ชินบัญชร


โดย ศรีเลา เกษพรหม - สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


คาถาชินบัญชร เป็นคาถาที่นิยมสวดและนับถือกันทั่วไปในเมืองไทย ในพม่า และในประเทศศรีลังกา ในเมืองไทยนั้นเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป แต่ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่า คาถานี้แต่งขึ้นที่ใด ใครเป็นคนแต่ง บางท่านก็ว่าแต่งโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เพราะทราบว่าท่านใช้สวดประจำ บางท่านก็ว่าแต่งโดยพระเถระชาวเชียงใหม่รูปหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ

พระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงได้ตรวจชำระคาถาชินบัญชรแล้วให้พิมพ์แจกเป็นธรรมทานในการบำเพ็ญกุศลคล้าย วันเกิดเมื่อ พ.ศ.2518 และทรงสนพระทัยความเป็นมาของคาถานี้มาก จึงได้ทรงสืบเสาะเรื่องนี้ และได้สรุปตามหลักฐานเท่าที่มีในครั้งนั้นว่า คาถาชินบัญชรนี้พระเถรชาวเชียงใหม่รูปหนึ่งเป็นผู้แต่งเมื่อ 400 ปีเศษมาแล้ว

ต่อมาข้าพเจ้าได้พบคัมภีร์ใบลานผูก 1 บอกไว้ว่าผูก 7 ใบลานกว้าง 4.5 ซม. ยาว 47 ซม. เดิมใบลานผูกนี้มี 34 หน้า ปัจจุบันหน้าที่ 1 – 6 ขาดหายไป คาถาชินบัญชรในใบลานผูกนี้มีด้วยกัน 15 บท ตัวคาถาคงเริ่มที่หน้าแรก จบที่หน้า 7 เพราะบรรทัดแรกของหน้า 7 เป็นปลายคาถาบทที่ 15 เริ่มด้วย “ธมมานุภาบาลโตติ //15// ชยปญจร ปณณรสคาถานิฏฐิตา” น่าเสียดายที่ตัวคาถาชินบัญชรที่ครบทั้ง 15 บทได้หลุดหายไปกับใบลาน 6 หน้าตอนต้น ต่อจากนั้นเป็นประวัติความเป็นมาของการแต่งคาถานี้ ณ ที่เมืองลังกา โดยบอกถึงการแต่งคาถาว่า 8 ตัวเป็น 1 บาท 4 บาทเป็น 1 คาถา ต่อจากนั้นเป็นคาถา “อัฏฐชัยมังคละ” (พาหุง) จำนวน 8 บท พร้อมทั้งคำอธิบายวิธีใช้ ต่อจากนั้นเป็นคาถา “สัมพุทเธ” พร้อมทั้งคำอธิบายวิธีใช้ และบอกว่าคัดลอกคาถาสัมพุทเธนี้สืบต่อมาจากสังฆราชชาวหงสา ต่อจากนั้นเป็นคาถา “พุทธคุณ” จำนวน 12 บท ต่อจากนั้นเป็นคาถาชื่อ “มัจฉราชจริยา” ต่อจากนั้นเป็นคาถาชินบัญชรอีกครั้งหนึ่ง แต่มีเพียง 8 บทเท่านั้น และในคัมภีร์ใบลานผูกนั้นได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของคาถาชินบัญชรไว้ ด้วย

ในตอนท้ายข้าพเจ้าจะนำเอาคาถาและคำแปลเป็นประโยคๆ ที่มีอยู่ในใบลาน อันพระสงฆ์ในสมัยโบราณได้แปลไว้ มาลงให้อ่าน เพื่อท่านที่นิยมสวดคาถาชินบัญชรจะได้รู้คำแปลทำให้เกิดความเชื่อมั่นในคาถา มากขึ้น

ตำนานประวัติความ เป็นมา

คาถาชินบัญชรเกิดขึ้นที่ประเทศลังกา ตามประวัตินิทานในใบลานกล่าวไว้ว่า มีพระราชาของลังกาพระองค์หนึ่ง ทรงมีโอรสกับพระมเหสี จึงเป็นที่ปลาบปลื้มพระทัยของพระองค์ยิ่งนัก หลังจากนั้นจึงให้หมอโหรทายทักดวงชะตาของพระโอรส หมอโหรได้ตรวจดูดวงชะตาราศีแล้วทายทักว่า เมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้ 7 ปีกับอีก 7 เดือน จะถูกฟ้าผ่าถึงแก่สวรรคต ในตอนแรกพระราชาก็คงไม่ทรงเชื่อมากนัก อยู่ต่อมาจนกระทั่งอายุของพระโอรสได้ 7 ปีกว่าๆ แต่ยังไม่ถึงกว่า 7 เดือน พระโอรสกำลังน่ารัก พระองค์จึงเกิดการปริวิตกพระทัย คิดว่าถ้าเกิดเหตุจริงตามที่หมอโหรได้ทายไว้ จะเสียพระโอรสไป จึงได้ทรงปรึกษาข้อปริวิตกเรื่องนี้แก่พระสงฆ์เถระในลังกา เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงภัยอันจะเกิดขึ้นแก่ราชโอรส พระเถระชาวลังกาจำนวน 14 รูป จึงได้ประชุมตกลงกันจะประกอบพิธีขึ้นที่ปราสาทของกษัตริย์ลังกาชั้นที่ 7 โดยพระสงฆ์ทั้ง 14 รูปได้แบ่งหน้าที่กัน โดยให้แต่ละรูปแต่งคาถาขึ้นรูปละ 1 บท และที่สำหรับแต่งคาถานั้นอยู่ใกล้กับป่องบัญชร คาถานั้นจึงได้ชื่อว่า ชัยบัญชร เมื่อแต่งคาถาเสร็จแล้วมีจำนวน 14 บท จึงให้พระราชาบูชาด้วยอามิสต่างๆ เช่นอาสนะ ฉัตร พัด ช่อ ธง เทียนธูป ประทีป ข้าวตอกดอกไม้เป็นต้น แล้วให้พระโอรสเรียนเอาคาถานั้นท่องบ่นทุกวัน

เมื่อถึงกำหนดวันที่โหรได้ทำนายไว้ คืออายุพระโอรสครบ 7 ปี กับ 7 เดือน ฟ้าได้ผ่าลงมาจริง แต่ไม่ถูกพระโอรส แต่ผ่าถูกหินก้อน 1 อยู่ทางทิศตะวันตกเมืองลังกา พระโอรสจึงได้แคล้วคลาดจากภัยในครั้งนั้น เชื่อว่าเป็นเพราะพระโอรสได้ท่องบ่นคาถาที่พระสงฆ์ทั้ง 14 รูปแต่งขึ้นนั้นเอง และนอกจากนั้นยังทำให้พระโอรสมีอายุยืนยาวได้สืบต่อราชสมบัติแทนพระราชบิดา ปกครองบ้านเมืองด้วยความผาสุกจนสิ้นอายุขัย

นำคาถาชินบัญชร จากลังกาเข้ามาในล้านนา

เมื่อราว พ.ศ.1981 / A.D.1438 มีพระมหาเถรองค์ 1 ชื่อ ชัยมังคละ อยู่วัดมหาธาตุ

เมืองหริภุญไชย (ปัจจุบันวัดพระธาตุหริภุญไชย) เป็นผู้อุปัฏฐากองค์พระธาตุ ได้เดินทางไปไหว้พระทันตธาตุที่เมืองลังกา และได้เสาะแสวงหามนต์ศาสตรศิลป์กับครูบานักปราชญ์ชาวลังกา นักปราชญ์ชาวลังกาจึงได้มอบคาถา 14 บท พร้อมทั้งวิธีการใช้ให้แก่มหาเถรชัยมังคละ มหาเถรชัยมังคละจึงคัดลอกคาถานั้นลงใบลาน เมื่อเสร็จแล้วพระมหาเถรจึงเดินทางกลับเมืองหริภุญไชย ต่อมาพระมหาเถรจึงได้เขียนคาถา 14 บทที่คัดลอกจากเมืองลังกาถวายแด่พญาติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้สวดก่อนนอน จึงทำให้พญาติโลกราชอยู่ด้วยความสุขความเจริญ ปราบชนะข้าศึกทั้งปวง และมีอายุยืนยาว ได้สร้างและบูรณะวัดวาอารามในศาสนา เช่นพระธาตุหริภุญไชย เป็นต้น เสนาอามาตย์ และข้าทาสบริวาร ไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปจึงพากันเรียนเอาคาถา 14 บทนั้นไว้ท่องบ่นสักการะบูชา จึงทำให้ชาวบ้านชาวเมืองมีความสุขความเจริญโดยทั่วหน้ากัน


(คาถาชินบัญชรพร้อม คำแปล)

ดูกราสัปปุริสทังหลาย อะหัง อันว่าข้า คาระโว เป็นผู้ไปกับด้วยอันครบยำ สัปปุริโส เป็นไปกับอันอ่อนน้อม สัตถารัง ยังสัพพัญญูเจ้าตนเป็นครูสั่งสอนคนและเทวดาทังหลาย มะมะสีลังจะ อันตนข้าทังมวลนี้บูชา ระหัง ขอถวายเป็นเครื่องบูชาสัพพัญญูเจ้าทีนี้ เจติยะวะรานิวิยะ เหมือนดังเรือนแห่งพระเจดีย์เจ้า 3 ประการ คือว่าสรีระเจดีย์ ปริโภคะเจดีย์ อุทเทสะเจดีย์ เยพุทธา อันว่าพระพุทธเจ้าทังหลายฝูงใด อัฏฐะวีสะติ อันได้ 28 พระองค์ ตัณหังกะราทะโย อันมีพระเจ้าตัณหังกรเป็นเค้าพระเจ้าฝูงนั้น นะราสัพภา อันประเสริฐกว่าคนทังหลาย นายะกา อันเป็นนายนำหมู่นำสัตว์เข้าสู่นิพพาน

ชะยาสะนากะตา อันผจญแพ้ยังฤกษ์ฟ้าคือว่ากิเลสตัณหาทังมวล เชต๖วา ผจญแพ้แล้ว มารัง ยังมาร สวาหะนัง กับทังริพลมารและเสนามาร พระพุทธเจ้าทั้งหลายฝูงนั้น ปิวิงสุ ก็ดูดกิน จะตุสัจจัง มะตะระสัง ยังน้ำอะมะฤตคือสัจจะ 4 ประการ เตพุทธา อันว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายฝูงนั้น สัพเพ ทั้งมวล มุนิสสะรา อันเป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ปะติฏฐิโต จุ่งมาตั้งอยู่ มัตถะเก ในกระหม่อมแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ พุทโธ อันว่าพระพุทธเจ้าฝูงประกอบด้วยคุณทังหลายคือ ทะสะคุณ และ นะวะคุณ ทั้งหลายอันมีอะระหันตะคุณเป็นเค้า สิเสปะติฏฐิโต จุ่งมาตั้งอยู่เหนือหัวแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ ธัมโม อันว่าพระสัทธัมเจ้า 9 ประการ 10 กับทั้งพระปริยัติธรรม อันประกอบด้วยคุณทังหลาย 3 ประการ อันมี สวาขาตะคุณเป็นเค้า ปะติฏฐิโต จุ่งมาตั้งอยู่ ทวิโรจะโน ในตาแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ สังโฆ อันว่าพระอริยเจ้าตนประกอบด้วยคุณอันอุปัฏฐากแก่สัพพัญญูเจ้า ราหุละเถระเจ้าตนเกิดมาแต่อกแห่งพระพุทธเจ้าก็ดี อาสุง จุ่งมาตั้งอยู่ ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง ในหูกล้ำขวาแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ อุพภะเถโร อันว่ามหาเถรเจ้า 2 พระองค์ กัสสะโป จะ มะหานาโม คือว่ามหากัสสะปะเถระเจ้า ตนประกอบด้วยอันทรงบังสุกุลอันประเสริฐก็ดี มหานามะเถระเจ้าก็ดี วามะโส ตะเก ปะติฏฐิตา จุ่งมาตั้งอยู่ในหูกล้ำซ้ายแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ เกสันเต ปิฏฐิภาคัสะมิง สุริโย จะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว อันว่ามหาโสภิตะเถระเจ้า มุนิปุงคะโว อันประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย สิริสัมปันโน อันประกอบด้วยศีลอันประเสริฐ สุริโย จะ ปะภังกะโร อันกระทำรัศมีรังสีอันรุ่งเรืองงามดีเป็นประดุจดั่งรัศมีแห่งพระอาทิตย์ นิสินโน จุ่งมาตั้งอยู่ เกสันเต ปิฏฐิภาคัสะมิง ในที่สุดปลายผมเบื้องหลังแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ กุมาระกัสสะโปนามะ พระกุมาระกัสสะปะเถระเจ้า มเหสิโน อันมีปกติอันแสวงหายังคุณอันประเสริฐ จิตตะวาทะโก อันกล่าวคำอันม่วนเพราะเสนาะใจ โสเถโร อัน มหากัสสะปะเถระเจ้าตนนั้น คุณากะโร อันบัวระมวลด้วยคุณทั้งมวล ปติฏฐาสิ จุ่งมาตั้งอยู่ มัยหัง วะทะเน นิจจัง ในปากแห่งผู้ข้าเป็นอันเที่ยงแท้เทอะ อิเมปัญจะมะหาเถรา อันว่ามะหาเถระเจ้า 5 พระองค์ฝูงนั้น ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ คือมะหาปุณณะเถระเจ้าก็ดี มะหาอังคุลิมาละเถระเจ้าก็ดี มะหาอุปาลี นันทะสิพะลี มะหาอุบาลีเจ้าก็ดี มะหาอานันทะเถระเจ้าก็ดี ติละกา อันปรากฏในโลกทั้ง 3 คือ กามะโลก รูปะโลก อะรูปะโลก นะราเต มะมะ ปะติฏฐิตา จุ่งมาตั้งอยู่หน้าผากแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ เสสาสีติ มะหาเถรา อันว่ามะหาเถรเจ้าอันเหลือกว่าอันได้กล่าวพระนามมาแล้วแต่ภายหลังนั้น ชิตะวันตา อันมีกิเลสหากผจญแพ้แล้ว ชิโนระสา อันเกิดมาแต่อกแห่งพระพุทธเจ้า ชะลันตา สีละเตเชนะ อันรุ่งเรืองด้วยเตชะศีลแห่งตน อังคะมังเคสุ ปติฏฐิตา จุ่งมาตั้งอยู่ในองค์อันใหญ่อันน้อยแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ ระตะนัง อันว่ารัตนะสูตร ปุระโต อาสิ จุ่งมาตั้งอยู่กล้ำหน้าแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ เมตตะสุตตะกัง อันว่าเมตตะสูตร ทักขิเณ อาสิ จุ่งมาตั้งอยู่ข้างกล้ำขวาแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ ธะชัคคัง อันว่าธัชชัคคะสูตร ปัสสะโต จุ่งมาตั้งอยู่กล้ำหลังแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ อังคุลิมาละกัง อันว่าอังคุลิมาละสูตรก็ดี อาสิ จุ่งมาตั้งอยู่ข้างซ้ายแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ ขันธะโมระปะริตตัญจะ อันว่าขันธะปริตตะสูตรก็ดี โมระปริตตะสูตรก็ดี อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อันว่าอาฏานาฏิยะสูตรก็ดี อากาเสสะทะนัง อาสิ จุ่งมาตั้งอยู่เป็นพิดานกั้งในอากาศภายบนหัวแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ เสสาสุตตะ อันว่าสูตรทั้งหลายอันเศษเหลือกว่าสูตรอันกล่าวแล้วแต่ภายหลังนั้น ชินนนังพะละสังยุตเต อันประกอบด้วยกำลังอาชญาแห่งพระพุทธเจ้า ปัณณะรา จุ่งมาปรากฏเป็นกำแพงอันแล้วด้วยแก้วมณีโชติ และด้วยสูตรประการทั้งหลายฝูงนั้น สัตตะปาการะลังกะเต อันประกอบด้วยอันรักษา 7 ประการ จุ่งมาแวดล้อมภายนอกตนแห่งผู้ข้าทั้งหลายทุกวันคืน พะหิรัชฌะตุปัททะวา อันว่าอุปัททะวะทั้งหลายอันเป็นภายในและภายนอก วาตาปิตตาทิสะชาตา อันเกิดมาในลม อะวะเสสา วินะยัง ยันตุ จุ่งเถิงเซิ่งอันฉิบเสียบ่เศษหลอ อนันตาชินะเตชะสา ด้วยเตชะแห่งสัพพัญญูเจ้าตนมีคุณหาที่สุดบ่ได้ วะสะโต เม แก่ข้าอันอยู่ สัมพุทธะปัญชะเร ในสีละปัญจะอันประเสริฐ คือว่าพระพุทธเจ้า สักกัจเจนะ ด้วยอันครบยำ สะทา ในกาลทุกเมื่อเทอะ เต มะหาปุริสา อันว่ามหาปุริสะเจ้าฝูงนั้น สะภา อันประเสริฐกว่าสัตว์ 2 ตีน และสรรพสัตว์ทั้งมวล วะสันตา อยู่ มะหิตะเล เหนือแผ่นดินและภูผาในชุมพูทวีปทั้งมวล สะทาปาเลนตุ จุ่งประกอบพิพักรักษา มะยิ ในฝูงหมู่ข้าทั้งหลาย วิหะรันตัง อันตั้งอยู่ ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ ในที่ท่ามกลางขบวนกระอูบแก้ว คือว่าอาชญาแห่งพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐล้ำเลิศยิ่งนัก มะหิตะเล เหนือแผ่นดิน สะทา ในกาลทุกเมื่อเทอะ อิจเจวะ เม กะโต สุรักโข ชินา นุภาเวนะ

ชิตุปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย จะรามิ ธัมมานุภาเวนะ ปะริตโต อันว่ามนต์อันนี้ อิจเจวะ มักว่า เอวัง ด้วยประการเท่านี้ สุกะโต อันผู้ข้าหากกระทำสวาทธิยายดีนัก สุรักขา อันผู้ข้ารักษาดีคุ้มครองไว้ดี ชิตุปัททะวา ก็อาจผจญแพ้อุปัททวะอันตรายภัยหื้อหมดเสี้ยงบ่หื้อเศษหลอ ชิตุปัททะวา พุทธานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าหุ้มหัวผู้ข้า

ชิตะสังฆา ก็อาจผจญแพ้หมู่ข้าศึกศัตรูทั้งมวล สังฆานุภาเวนะด้วยอำนาจพระสังฆเจ้าหุ้มหัวผู้ข้า อะหัง อันว่าข้า ธัมมานุภาเวนะ ปาระโต ด้วยอานุภาพพระสัทธรรมเจ้ามารักษากั้งบังดีนัก จะรามิ หากจรเดินไปในทิศที่ใดก็ดี ก็จุ่งแจ้งสว่างหายภัยอันตรายรำงับดับเสี้ยง หะเม มักว่า เอกันเตนะ อันมีเที่ยงแท้อย่าคลาดอย่าคลา ด้วยอำนาจอาชญาแห่งพระรัตนตรัยเจ้า 3 ประการ หากมาพิพักรักษายังตนตัวแห่งผู้ข้าทั้งหลายเทอะ ชินะ ปัญชะระ ปะริตตัง นิฏฐิตัง
แหล่งสื่อ moradoklanna.com

Pra Somdej Amulets

Today, there are many different Somdej Pra Puttajarn To editions of amulets. Ranging from Pim Yai,Pim Niyom, Pim Lek, Tan Saem....

Pra Somdej Wat Rakang Pim Yai




Pra Somdej Pim Niyom

Pra Somdej Pim Niyom amulet

 Pra Somdej Tan Saem



The somdejs from the other LP To related temples..Wat Gaet Chaiyo - Somdej Wat Gaet Chaiyo 6 chan  and 7 chan


Somdej Wat Gaet Chaiyo 6 Chan



 Somdej Wat Gaet Chaiyo 7 Chan





Links;
krusiam.com

พระสมเด็จ วัดระฆัง ในปัจจุบัน


ปัจจุบันพระสมเด็จ ของพุฒาจารย์โต นั้นมีมากมายหลายพิมพ์ทรง โดยเนื้อหาที่เล่นก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่า ความน่าเชื่อถือของคนๆนั้นเป็นอย่างไร ในเวปนี้ต้องการที่จะนำเสนอในแง่คิดและมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่ได้ศึกษาบวก กับเทคโนโลยี ในสมัยใหม่ที่วิเคราะห์เจาะลึกถึง เนื้อหาพระสมเด็จและพิมพ์ทรง ทางประวัติศาสตร์ อย่างถูกต้องโดยข้อมูลเนื้อหานี้ได้มาจาก อาจารย์ อรรคเดช กฤษณะดิลก อาจารย์ 3 ระดับ 8 วิชาพุทธศิลป์ ขอให้เพื่อนๆสมาชิกได้อ่านและเปิดโลกทัศน์ในมุมมองใหม่เพื่อที่จะได้เกิด ประโยชน์อย่างแท้จริงๆ ถึงพวกเราจะเกิดกันไม่ทันแต่มรดกที่ถ่ายทอดกันมาในเรื่องความรู้นั้น ไม่มีวันหมดและตายจากพวกเราไป ขอให้ศึกษากันอย่างจริงจังรับรองว่าท่านจะมีสมเด็จวัดระฆังไว้บูชาอย่างแน่ นอนครับ
แหล่งสื่อ -  www.krusiam.com

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)
..........สมัยเมื่อท่านยังเป็นเด็ก ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนหนังสือในสำนัก ของท่านเจ้าคุณอรัญญิก ( ด้วง ) วัดอินทรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดบางขุนพรหมนอก ส่วนวัดบางขุนพรหมใน ก็คือวัดบางพรหมในปัจจุบัน พออายุได้ ๑๒ ปีท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้ย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม ธนบุรี มีเรื่องเล่าว่า ก่อนที่ท่านจะย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังฯ นั้น ในตอนกลางคืน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( นาค ) เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ขณะนั้นได้ฝันว่า " ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งเข้ามา กินหนังสือในตู้พระไตรปิฎกของท่านจนหมดตู้ ไม่มีเหลืออยู่เลยสักเล่ม " เมื่อท่านตื่นมาในตอนเช้าได้พิจารณาความฝันเมื่อคืนนี้แล้ว ก็ปลงใจว่า " ถ้ามีใครเอาเด็กมาฝากให้เป็นลูกศิษย์ ก็ขอให้รอพบก่อน " ครั้นในเพลารุ่งขึ้น ท่านเจ้าคุณอรัญญิกก็ได้นำเอาสามเณรโตมาถวายเป็นศิษย์ในเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( นาค ) ท่านก็รับด้วยความยินดีสมกับความฝันจริง
..........เมื่อ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้เข้ามาศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังฯ แล้วปรากฏว่า การศึกษาของท่านได้รับคำชมเชยจากพระอาจารย์อยู่เสมอว่า ความจำความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องปฏิภาณไหวพริบของท่านนั้น เป็นเลิศหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากประการหนึ่ง ท่านเรียนรู้พระปริยัติธรรมได้อย่างที่เรียกว่า " รู้แจ้งแทงตลอด " กันเลยทีเดียว นอกจากท่านจะได้ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( นาค ) วัดระฆังฯ แล้ว ท่านยังได้ไปฝากตัวศึกษาทางด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติกับสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) ไก่เถื่อน ณวัดมหาธาตุฝั่งตะวันตกของสนามหลวงเป็นพื้น และด้วยความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ของท่านดังกล่าวแล้ว จนกระทั่ง สมเด็จพระสังฆราชฯ ตรัสว่า " สามเณรโตเขาไม่ได้มาศึกษากับฉันดอก เขามาแปลหนังสือให้ฉันฟัง " นอกจากทางด้านปริยัติท่านจะได้ศึกษา อย่างรู้แจ้งรู้จบแล้ว ท่านยังได้หันไปศึกษาทางด้านปฏิบัติเพื่อ ความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร กับสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ) ไก่เถื่อนอาจารย์รูปหนึ่งทางด้านปริยัติธรรมของท่าน ซึ่งในขณะนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดัง ทางปฏิบัติอยู่ก่อนแล้ว
..........และด้วยคุณวิเศษในด้านเมตตาของท่าน จนสามารถโน้มน้าวจิตใจของไก่ป่า ที่แสนเปรียวในป่าชัาต้องละป่า และละถิ่นฐานตามท่านมาอยู่ในกรุง เป็นเหตุมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง จึงได้รับสมญานามว่า สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน อาจารย์ทางด้านวิปัสสนาธุระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นอกจากสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน แล้วก็มีเจ้าคุณอรัญญิกวัดอินทรวิหารบางขุนพรหม โดยเฉพาะสมณศักดิ์อรัญญิก ซึ่งแปลว่า ป่า ย่อมจะเป็นที่แจ้งชัดแล้วว่า ท่านเป็นผู้ชำนาญทางปฏิบัติ เพราะตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งของด้านวิปัสสนาธุระอยู่แล้ว ยังมีเจ้าคุณบวรวิริยเถร วัดสังเวชวิทยาราม บางลำพู และท่านอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรี ผู้โด่งดังทางด้านปฏิบัติ และเก่งกล้าทางพุทธาคมอีกด้วย โดยที่สามเณรโตท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ และไม่มีความทะเยอทะยานในลาภยศสรรเสริญทั้งๆ ที่ท่านเป็นผู้ที่เรียนรู้ในพระปริยัติธรรม และมีความเชี่ยวชาญถ่องแท้ในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี แต่สามเณรโตท่านก็หาได้เข้าสอบเป็นเปรียญไม่
..........นอกจากท่านจะมีความเชี่ยวชาญสนด้าน ปริยัติธรรมดังกล่าว ท่านยังมีความสามารถในการเทศน์ได้ไพเราะ และมีความคมคายยังจับจิต จับใจท่านผู้ฟังมาแต่ครั้งท่านเป็นสามเณรอยู่ก่อนแล้ว เรื่องนี้เป็นที่เล่าลือขจรขจายไปทั่วทุกทิศ และด้วยเหตุสามเณรโตเป็นนักเทศน์ เป็นเหตุให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( ร . ๒ ) ตั้งแต่ครั้งยังทรงเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานเป็นอย่างมาก ถึงกับพระราชทานเรือกัญญาหลังคากระแชงไว้ให้ใช้ และรับไว้ในพระราชูปถัมภ์อีกด้วย ส่วนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระเมตตาสามเณรโตไม่น้อยเหมือนกัน และทรงโปรดให้สามเณรโตเป็นนาคหลวง และอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงแต่งตั้งในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เป็นพระราชาคณะ แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ได้ทูลขอตัวเสีย ด้วยเหตุที่กลัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ให้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้ถือธุดงควัตรไปตามจังหวัดที่ห่างไกลเป็นการเร้นตัวไปในที
..........สืบต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร . ๔ ) โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์ ในคราวนี้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่ขัด พระราชประสงค์ อาจจะเป็นด้วยท่านชราภาพลงมาก คงจะจาริกไปในที่ห่างไกลคงไม่ไหวแล้ว เพราะตอนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ( ร . ๔ ) พระราชทานสมณศํกดิ์เป็นที่ พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อปี พ . ศ . ๒๓๙๕ นั้นท่านมีอายุได้ ๖๕ ปีเข้าไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น พระองค์ท่านได้ทรงผนวชมาแต่พระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา และได้ทรงศึกษาด้านวิปัสสนา ธุระ ณ วัดราชาธิวาส จนจบสิ้นตำรับตำรา ทรงมีความรอบรู้อย่างถ่องแท้ จนไม่มีครูบาอาจารย์รูปอื่นใด จะสามารถอธิบายให้กว้างขวางต่อไป ได้อีก จึงได้ทรงระงับการศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระไว้เพียงนั้น พอออกพรรษาก็เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุ ก็ทรงหันมาศึกษาทางฝ่าย ปริ ยัติธรรม โดยได้เริ่มศึกษาภาษาบาลีเพื่ออ่านแปลพระไตรปิฏก ทรงค้นคว้าหาความรู้โดยลำพัง พระ องค์เอง ทรงขะมักเขม้นศึกษาอยู่ ๒ ปี ก็รอบรู้ภาษาบาลีอย่างกว้างขวาง ผิดกับผู้อื่นที่ได้เคยศึกษามา
..........เมื่อกิติศัพท์ทราบถึงพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู้หัวฯ จึงโปรดให้เสด็จฯ เข้าแปลพระปริยัติธรรมถวายตามหลักสูตรเปรียญในเวลานั้น พระองค์ทรงแปลอยู่ ๓ วัน ก็ปรากฏว่าทรงแปลได้หมดจนจบชั้นเปรียญเอก จึงพระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ๙ ประโยค ให้ทรงถือ เป็นสมณศักดิ์ต่อมา ฉะนั้นเมื่อพระองค์พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โต จึงเข้าทำนองปราชญ์ย่อมจักเข้าใจ ในปราชญ์ เกี่ยวกับเรื่องนี้มีเรื่องเล่ากันว่า " ในตอนที่พระราชทานให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต เป็นที่พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังฯนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้า ทรงเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งถามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่าในรัชกาลที่ ๓ ทำไมเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงหนีไม่ยอมรับพระราชทาน สมณศักดิ์ แต่คราวนี้จึงไม่หนีอีกเล่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ถวายพระพรด้วยปฏิภาณไหวพริบอันว่องไวและเฉียบแหลมว่า " รัชกาลที่ ๓ ทำไมไม่ได้เป็นเจัาฟ้า เป็นแต่เจ้าแผ่นดินเท่านั้น ท่านจึงหนีได้ แต่มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ( ร . ๔ ) เป็นทั้งเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านเจ้าประ คุณสมเด็จฯ จึงหนีไปไหนไม่พ้น "
..........พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวได้ทรงรับก็ทรงพระสรวล ด้วยความพอพระราชหฤทัย ด้วยเหตุฉะนี้กระมังพระองค์จึงทรงโปรดและมีพระมหากรุณาต่อ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) วัดระฆังฯ เป็นพิเศษ บางโอกาสแม้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะได้แสดงข้ออรรถ ข้อธรรมอันลึกซึ้งที่ขัดพระทัย อยู่บ้าง ก็ทรงอภัยให้เสมอ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อออกพรรษาเป็นเทศกาลทอดกฐินพระราชทาน พระองค์ทรงโปรดให้อารามหลวงในเขตกรุงเทพพระมหานคร จัดการตกแต่งเรือเพื่อการประกวดประชันความงามและความคิด เมื่อขบวนเรือประกวดล่องผ่านพระที่นั่งเป็นลำดับๆ ซึ่งล้วนแต่ตกแต่งด้วยพันธุ์บุปผานา นาชนิดสวยงามยิ่งนัก ครั้นมาถึงเรือประกวดของวัดระฆังฯ เท่านั้นเป็นเรือจ้นเก่าๆ ลำหนึ่ง ที่หัวเรือมีธงสีเหลืองที่ทำจากจีวรพระมีลิงผูกอยู่กับเสาธงที่กลาง เรือมีเจ้าประคุณสมเด็จฯนอนเอกเขนกอยู่เท่านั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นเท่านั้น ก็เสด็จขึ้นทันทีแล้วตรัสว่า " ขรัวโตเขาไม่ยอมเล่นกับเรา " แต่ก็ทรงทราบด้วยพระปรีชาว่า การที่ขรัวโตประพฤติเช่นนั้นทำเป็นปริศนาให้ทรงทราบว่า

ความจริงแล้วพระสงฆ์ องค์เจ้าอย่างท่านไม่ได้สะสมทรัพย์สินเงินทอง แต่อย่างใด มีเพียงอัฐบริขารเท่าที่จำเป็นเท่านั้น จะจัดหาสิ่งของเอามาตกแต่งเรือให้สวย งามได้อย่างไร คงมีแต่จีวรที่แต่งแต้มสีสันกับสัตว์เลี้ยง คือลิงที่มักแลบลิ้นปลิ้นตา ดังวลีที่ว่า การกระทำเช่นนั้นความจริงแล้วมันเหมือนกับทำตัวเป็น " ลิงหลอกเจ้า " นั้นเอง แต่พระองค์ก็ทรงอภัยโทษ หาได้โกรธขึ้งได้ การกระทำเช่นนั้น ถ้าเป็นบุคคลอื่นคงจะหัวขาดเป็นแน่ ครั้งถึงวันที่สาม วันนี้เป็นวันที่ ปราศจากพระราชกิจแต่อย่างใด จึงตั้งพระทัยว่าจะสดับพระธรรมเทศนาให้จุพระทัย แต่ทว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็รู้แจ้งในพระประสงค์ พอท่านขึ้น ธรรมาสน์ถวายศีล บอกศรัทธาถวายพระพรตั้งนะโมว่าอรรถ ต่อจากนั้นก็แปลเพียงสองสามประโยคแล้วท่านเจ้าประคุณฯ ได้กล่าวว่าจะถวายพระธรรมเทศ นาพระธรรมหมวดใดๆ มหาบพิตรราชสมภารเจ้าก็ทรงทราบหมดแล้ว เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ เสร็จแล้วท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ลงจากธรรมาสน์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีรับสั่งความว่า " ทำไมวันก่อนจึงถวายพระธรรมเทศนาเสียยืดยาวมากกว่านี้ ?"
..........ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงถวายพระพรไปว่า " เมื่อวานพระมหาบพิตรพระราชหฤทัยขุ่นมัว จะทำให้หายขุ่นมัวนั้นจะต้องสดับพระธรรมเทศนามากๆ แต่มาวันนี้พระราชหฤทัยผ่องใส จะสดับแต่เพียงน้อยก็ได้ " พระองค์ไม่ตรัสว่าอย่างไร ได้แต่ทรงพระสรวลด้วยความยินดีเข้าทำนองปราชญ์ย่อมจักเข้าใจ ในปราชญ์ฉะนั้น สืบต่อมาได้มีพระเถระรูปอื่นได้นำเอาวาทะของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าวแล้วไปใช้พระองค์ไม่ให้อภัยอย่างท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงกริ้วเป็นอย่างมากอีกด้วย จากเหตุการณ์ที่เล่ามานี้แสดงว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นที่โปรดปรานและทรงพระเมตตาแก่ท่านเป็นอย่างมากอีกด้วย และจากพฤติกรรมที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทราบถึงวาระจิตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้นย่อมจักแสดงว่าท่านเป็นผู้สำเร็จและทรงคุณวิเศษ ในอภิญญา คือกำหนดรู้วาระจิตบุคคลอื่น มีอยู่คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรละครหลวง ซึ่งตัวละครเป็นเจ้าจอมหม่อม ห้ามอยู่เป็นเนืองนิตย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้จุดไต้ในเวลากลางวัน เดินเข้าไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง ทำเป็นปริศนาธรรม เพื่อประสงค์จะทูลเตือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเกรงว่าจะทรงหมกหมุ่นในกามคุณารมย์มากไปนั่นเอง
..........พอพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวทอดพระเนตร เห็นก็มีพระราชดำรัสว่า " ขรัว เขารู้แล้ว เขารู้แล้ว " ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯท่านได้จุดไต้ในเวลา กลางวันอีกครั้งหนึ่ง โดยได้เดินเข้าไปหาท่านเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ฯ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเสวยราชสมบัติแต่ยังทรงพระ เยาว์อยู่ เพราะมีข่าวลือว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะคิดกบฏ และเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เข้าไปหาผู้สำเร็จราชการแล้วได้เล่าข่าวลือให้ฟังพร้อม ทั้งบอกว่าจะจริงหรือไม่จริงอย่างไร อาตมาก็ขอบิณฑบาตเสียเลย เรื่องราวอันเกี่ยวกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านประพฤติปฏิบัติตนตามความสัตย์จริง เท่าที่ท่านจะเห็นควร โดยไม่ได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัตินั้น นอกจากจะทำเป็นปริศนาธรรมให้คิดแล้วยังแสดงออกถึงคุณวิเศษของท่าน อีกด้วย มีเรื่องเล่าต่อไปว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งพระภิกษุที่วัดระฆังฯ ซึ่งท่านเป็นผู้ปกครองวัดอยู่ได้ตีกันถึงหัวร้างข้างแตก พระรูปที่ถูกตีหัวแตกได้ไปฟ้องท่าน ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ตอบพระรูปนั้นไปว่า
.........." ก็คุณตีเขาก่อนนี่ " พระรูปนั้นก็ตอบว่า " กระผมไม่ได้ตี " แต่ทว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงยืนกรานคำพูดของท่านอย่างนั้นพระรูปนั้นเกิดความไม่พอใจ เป็นอย่างมาก จึงได้ไปฟ้องสมเด็จพระวันรัต ( เข่ง ) วัดอรุณฯ ได้ตรวจสอบอย่างแน่ชัดเช่นนั้นแล้ว สมเด็จฯ วัดอรุณฯ จึงได้ให้คนไปนิมนต์ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯ ( โต ) มาจากวัดระฆังฯ มาสอบถาม โดยถามท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่าท่านรู้ได้อย่างไรว่าพระรูปนั้นไปตีพระอีกรูปก่อน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเลี่ยงไปตอบว่า ท่านรู้ได้ตามพุทธฏีกาว่า " เวรไม่ระงับด้วยเพราะการจองเวร " และ " เวรต่อเวรมันตอบแทนซึ่งกันและกัน " ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อชาติก่อนพระรูปที่ถูกตีหัวแตกเคยไปตีหัวพระองค์นั้นก่อนนั่นเอง เมื่อสมเด็จพระวันรัตได้ฟังท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตอบเช่นนั้น ก็จนด้วยปัญญา จึงได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้ระงับอธิกรณ์ในครั้งนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียกพระทั้งสองรูปนี้มาอบรมสั่งสอนตามแนวทางธรรมะไม่ให้จองเวรซึ่งกัน และกัน เสร็จแล้วจึงได้มอบเงินทำขวัญให้แก่พระทั้งสองรูปนั้นคนละ ๑ ตำลึงซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นเงินมากโขอยู่ แล้วสรุปว่าท่านทั้งสองรูปไม่มีใครผิดไม่มี ใครถูก แต่ฉันเป็นคนผิดเองที่ปกครองดูแลไม่ดี อย่างนี้เป็นต้น
..........ยิ่งไปกว่านั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านยังกอปรด้วยเมตตาเป็นยิ่งนัก มีเรื่องเล่าว่าคืนหนึ่งขณะที่ท่านกำลังนอนหลับอยู่ได้มีหัวขโมย ซึ่งส่วนมากเป็น ประเภทขี้ยาหรือพวกที่ชอบลักเล็กขโมยน้อย ได้ขึ้นมาลักขโมยเอาตะเกียงลานของท่าน แต่ทว่าเอื้อมหยิบไม่ถึงท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงเอาเท้าเขี่ย ตะเกียงลานให้ แล้วพูดว่า ให้รีบๆ ไป เดี๋ยวลูกศิษย์มาเห็นเข้าจะเจ็บตัว อีกครั้งหนึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดเครื่องกฐินเพื่อไปทอดที่วัดแห่งหนึ่งแถว จังหวัดอ่างทอง แต่ขณะที่จอดเรือพักนอนค้างคืนนั้น ได้มีขโมยมาลักเอาเครื่องกฐินของท่านจนหมด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตื่นขึ้นมาแทนที่ท่านจะโกรธ กลับแสดงความดีใจเลยล่องเรือกลับกรุงเทพฯ ผ่านคนที่รู้จักกันท่านจะบอกแบ่งบุญให้อย่างทั่วถึง พอแล่นเรือมาถึงบางตะนาวศรี แถวเมืองนนบุรี ท่านได้ แวะซื้อหม้อดินจนเต็มเรือ ใครถามท่านจะตอบว่า " เอาไปแจกคนบางกอกเขาจ้ะ " เมื่อเรือแล่นมาถึงกรุงเทพฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ให้เรือแล่นเข้าคลอง บางลำพูไปออกทางคลองโอ่งอ่าง สะพานหัน เที่ยวแจกหม้อเขาเรื่อยไปจนหม้อหมดก็กลับวัด พวกนักเลงหวยเห็นพฤติกรรมอันประหลาดของท่านเจ้าประ คุณสมเด็จฯ เป็นเช่นนั้นก็คิดว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ " ใบ้หวย ก . ข ." คือตัว ม . ( หม้อ ) ปรากฏว่าวันนั้นทั้งวันหวยออกตัว ม . ทั้งเช้าและค่ำ เล่นเอาเจ้า มือหวยเจ๊งไปตามๆ กัน



มีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านเจ้า ประคุณสมเด็จฯ อยู่ประโยคหนึ่งว่า " ท่านนอนอยู่ที่อยุธยามานั่งที่ไชโย มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง " และเพื่อเป็นอนุ สรณ์แห่งความทรงจำ และระลึกถึงสถานที่สำคัญๆ สำหรับชีวิตท่าน ท่านได้สร้างปูชนียวัตถุอันเป็นที่พึ่งทางใจของผู้ที่ได้พบเห็น ก่อให้เกิดศรัทธาได้เป็น ที่ยิ่ง อาทิเช่น ท่านได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ ( พระนอน ) ที่ใหญ่โตไว้ที่วัดสะดือ อยุธยา สร้างพระนั่งที่ใหญ่โตไว้ที่วัดไชโย จ . อ่างทอง สร้างพระยืนที่ใหญ่โต ที่วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ นี้ แลท่านชอบสร้างปูชนียวัตถุให้ใหญ่ๆ โตๆ ตามพระนามของท่านว่า โต นั่นเอง
..........เป็นเรื่องที่เล่าขานกันอย่างกว้าง ขวาง และเด่นชัดระหว่างท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังษี อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ กับพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ( ร . ๔ ) ซึ่งพระองค์ทรงผนวชตลอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และด้วยความเป็นอัจฉริยะของพระองค์ทรงมีความรู้แตกฉานทั้ง ในด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระชนิดรู้แจ้งแทงตลอด และเมื่อพระองค์เสด็จนิวัตมาเถลิงราชย์แล้วนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะประพฤติปฏิบัติแผลงๆ ไม่ยึดถือขนบธรรมเนียมอันควรปฏิบัติ เอาแต่ความคิดเห็นของท่านเป็นส่วนใหญ่ แต่ทว่าการประพฤติปฏิบัติของท่านนั้นอยู่บนรากฐานของความจริง แฝงไว้ด้วยคติธรรมและแง่คิดอย่างชาญฉลาดเยี่ยงปรัชญาเมธี จึงจักเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯกับพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร . ๔ )

Search This Blog

Dhamma Blog - Dharma Thai Buddhism Portal

 

blogger templates | Make Money Online